Friday, 23 June 2017

adverb คืออะไร

       เมื่อตอนเด็กๆการเรียนภาษาอังกฤษทำให้ฉันเข้าใจว่า Adverb คือ คำที่ไปขยาย Verb ซึ่งจริงๆแล้ว Adverb มีหน้าที่มากกว่าการไปขยาย Verb แต่จะมีหน้าที่อะไร? คืออะไร? แบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ๆได้กี่หมวด?? เดี๋ยวเราจะมาดูกันค่ะ !!   
            
      ซึ่งจริงๆแล้วนั้น Adverb ก็คือ คำที่ทำหน้าที่ขยายคำกริยา (Verb) คำคุณศัพท์ (Adjective) หรือคำวิเศษณ์ (Adverb) ด้วยกันเองก็ได้นั่นเอง

ตัวอย่าง
     ขยายกริยาไว้หลังกริยา The old man  walks slowly.
                                                  ชายชราคนนั้นเดินอย่างช้าๆ.
     ขยายคุณศัพท์เรียงไว้หน้าคุณศัพท์ : Tangmo is very strong.
                                                                            แตงโมเป็นคนแข็งแรงมาก.
     ขยายกริยาวิเศษณ์เรียงไว้หน้ากริยาวิเศษณ์ : The train runs very fast.
                                                                                           รถไฟวิ่เร็วมาก



Wednesday, 21 June 2017

Adverb of time

1.Adverb of time คือ คำกริยาวิเศษณ์บอกเวลา เป็นคำซึ่งใช้บ่งบอกถึงเหตุการณ์ต่างๆว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่หรือ ใช้เวลานานเท่าใด 


1. โดยส่วนมากนิยมวาง Adverb of time ไว้ตรงท้ายประโยด
2. เราสามารถย้ายตัว Adverb of time มาวางหน้าประโยคโดยที่ความหมายเหมือนเดิม และต้องมีเครื่องหมาย comma “,”  เป็นตัวกั้น
3. คำบางคำใน Adverb of time บางคำ เช่น now, then, once, finally, eventually นั้นสามารถที่จะวางหน้าคำกริยาได้                                                                                       4.ข้อยกเว้นสำหรับคำว่า just กับ still เราจะต้องวางคำนี้กริยาหลัก ไม่สามารถใช้วางหน้าหรือหลังได้

                                                ย้อนปลับ ถัดไป 

Tuesday, 20 June 2017

Adverb of place

2. Adverb of place คือ คำกริยาวิเศษณ์ที่บ่งบอกสถานที่ว่าอยู่ที่ไหน


1.วางไว้ท้ายกริยาแท้ (Main verb) หรือ กรรม (object) ของประโยค
2.เราสามารถนำคำเหล่านี้มาวางข้างหน้าโดยมีเครื่องหมาย comma “,” คั่น



Monday, 19 June 2017

Adverb of frequency

3. Adverb of frequency คือ คำกริยาวิเศษณ์แสดงความถี่ เราจะใช้คำดังกล่าวนี้ในการบ่งบอกถึงความถี่ของเหตุการณ์ต่างๆว่ามีมากน้อยขนาดไหน


1. ถ้าประโยคนั้นมี verb to be หรือ verb to have ให้วาง Adverb of frequency ไว้หลัง verb to be หรือ verb to have
2. ถ้าประโยคนั้นมีกริยาหลัก (Main verb) ให้วาง Adverb of frequency ไว้หน้ากริยาหลัก (Main verb) นั้นๆ
3. ในประโยคคำถาม ให้เราวาง Adverb of frequencyไว้หน้ากริยาหลัก (Main verb)

Sunday, 18 June 2017

Adverb of degree

4. Adverb of degree คือ คำกริยาวิเศษณ์ที่บ่งบอกถึง ระดับ หรือ ปริมาณ


1. วางหน้ากริยาแท้เพื่อที่จะขยายกริยานั้นๆ
2. วางไว้ข้างหน้า adverb หรือ adjective เพื่อที่จะขยายคำที่ตามหลัง

Adverb of manner

5. Adverbs of manner คือ คำกริยาวิเศษณ์ที่บ่งบอกถึง คุณภาพ อาการ สถานะ ท่าทาง ลักษณะต่างๆของการกระทำ


1. สามารถวางหน้าหรือหลังกริยาที่ต้องการขยายโดยที่ความหมายคงเดิม
2. เราสามารถนำ Adverb of manner นั้นมาวางหน้าประโยคก็ได้
3. ถ้าในประโยคนั้นเป็น Passive voice เรามักวาง Adverb of manner หน้าคำกริยาหลัก
4. ใช้คำ Adverb of manner วางไว้หน้า adjective เพื่อทำการขยาย adjective
5. ถ้าประโยคนั้นมีกรรม นิยมวางคำไว้หลังกรรม

Saturday, 17 June 2017

Adverb Clauses

ต่อไปจะเป็นเรื่องของ Adverb Clauses หรือที่เราเรียกกันว่า วิเศษณานุประโยค ซึ่งก็คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำกริยาวิเศษณ์ตัวหนึ่งที่ใช้ขยายกริยา หรือคุณศัพท์ในประโยคหลัก หรือใช้ขยายประโยคหลักเพียงแสดงถึงวัตถุประสงค์บางประการนั่นเอง
     
     หน้าที่ของ Adverb Clauses

Adverb Clause ใช้ขยายคำกริยา คำคุณศัพท์ หรือคำกริยาวิเศษณ์ใน main clause โดยสามารถวางไว้ข้างหน้าหรือข้างหลัง main clause ก็ได้ ถ้าอยู่หน้า main clause จะมีเครื่องหมาย comma (,) คั่น
    
     ประเภทของ Adverb clauses
Adverb clause อาจแบ่งเป็น 9 ประเภท ได้แก่
1. Adverb Clause of Time ใช้แสดงเวลา
2. Adverb Clause of Place ใช้แสดงสถานที่
3. Adverb Clause of Manner ใช้แสดงอาการ
4. Adverb Clause of Purpose ใช้แสดงวัตถุประสงค์
5. Adverb Clause of Reason/Cause ใช้แสดงเหตุผล/สาเหตุ
6. Adverb Clause of Result ใช้แสดงผล
7. Adverb Clause of Condition ใช้แสดงเงื่อนไข
8. Adverb Clause of Concession/Contrast ใช้แสดงใจความที่ขัดแย้งกัน
9. Adverb Clause of Comparison ใช้แสดงการเปรียบเทียบ/เปรียบเหมือนว่า “เท่ากัน มากกว่า หรือน้อยกว่ากัน”

        ตัวอย่าง Adverb  Clauses

When the chairperson comes in, we will start our meeting.
(ในที่นี้ Adverb Clause คือ When the chairperson comes in ขยายคำกริยา will start ใน main clause เมื่อ Adverb Clause อยู่ข้างหน้า จะต้องมีเครื่องหมาย comma คั่นประโยคทั้งสอง)
We will start our meeting when the chairperson comes in.
(กรณีเช่นนี้จะนำ Adverb Clause ไปไว้หลัง main clause ในกรณีนี้ไม่ต้องใช้เครื่องหมาย comma คั่นประโยคทั้งสอง)

Because his country lacks unity, the King is unhappy.
The King is unhappy because his country lacks unity.
While they patrol the border, border police are in danger.
Border police are in danger while they patrol the border.
       
        
                                                          ⏪   ย้อนกลับ

ที่มา   : http://www.stou.ac.th/schools/sla/b.a.english/D4LP/14212/Module12/content/content01.html